จากเดิมแล้วนั้นภาษาเขมรเป็นภาษาที่ไทยเรานั้นนำมาเป็นภาษาท้องถิ่นของชาวอีสานตอนใต้ หรือเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ขแมร์ ด้วยภาษาเขมรนั้นมีต้นกำเนิดมาจากภาษาขอม ซึ่งนับว่ามีอายุกำเนิดมานับร้อยๆ ปีเป็นภาษาที่สละสลวยฟังดูเข้าหูเลยครับ และที่น่าทึ่งมากคือมันเป็นภาษามาจากรากราชาศัพท์ที่มีปรากฏในจารึกสมัยหลายร้อยปี มีคำหลายคำที่นำมาใช้ในภาษาไทยอีกด้วย ได้แก่ สดับ แปลว่า ฟัง เสวย แปลว่า กิน หรือ ทาน เป็นต้น ในยุคสมัยโบราณ ชาวประเทศเขมรที่ศึกษาเรียนวิชาอาคมมนต์ขลังและเวทย์มนต์คุณไสย์ที่คนไทยต่างรู้จักกันดีและมีตามต่างจังหวัดทั่วไป นับว่าเป็นวิชาทางไสยศาสตร์ได้นำวิชาและคาถาต่างๆ โดยใช้ภาษาเขมรเป็นหลักในการร่ายมนต์นั้น ซึ่งจารึกไว้บนใบลาน หรืออีกอย่างที่เราเรียกกันว่า พระคาถาใบลาน จึงสามารถรับรู้เลยได้ว่า ภาษาเขมรเป็นภาษาที่เก่าแก่มากอีกภาษาหนึ่งเหมือนกับภาษาขอม แต่ในทุกวันนี้ภาษาเขมรเริ่มที่จะเลือนลางหายไป เพราะด้วยคนเราทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าภาษาเขมร เป็นภาษาที่ด้อยและไม่มีคนใช้ในปัจจุบัน แต่ถ้าใครได้พูดคุยภาษาเขมรในสังคมนั้นก็จะเกิดอาการเขิน อาย และกลัวคนอื่นหาว่าเชยที่พูดเขมรออกไป และในยุคสมัยใหม่นั้นเด็กเกิดใหม่หรือว่าคนเขมรก็มักจะใช้ภาษาไทยในการสื่อสารเป็นหลัก ผู้ใหญ่บางท่านที่มีลูกแล้วก็มักจะสอนลูกให้หัดพูดไทยตั้งแต่เด็ก เพื่อซึมซับเข้าไปโตมาจะได้พูดได้คล่องแต่ในอีกมุมหนึ่งนั้นถ้าเกิดทำเช่นนั้นทั้งหมด ภาษาเขมรนั้นก็จะไม่มีพูดในเขมรอีกต่อไป คนที่เป็นคนเขมร บางคนแทบจะจำไม่ได้เลยว่า คำบางคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปและพูดได้ง่าย ของภาษาเขมร นั้นหมายความว่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้แล้วทางประเทศของเขาก็ห่วงเรื่องภาษาบ้านเขาอย่างมากจึงได้ทำการเปิดให้เรียนภายในประเทศและนอกประเทศเพื่ออนุลักษณ์ภาษานี้ไว้ให้นานเท่านาน
